จิ๋วแต่แจ๋ว! แบตเตอรี่กระดาษ ขนาด 4x4 cm. หนา 0.4 mm. ที่สามารถช่วยแก้เรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้
.
แบตเตอรี่ลิเธียมจำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้าในการทำงาน แต่ก็ยังมีจุดด้อยในเรื่องของขนาดและน้ำหนักอยู่บ้าง ทางมหาวิทยาลัย Nanyang Technological จากประเทศสิงคโปร์ได้ทำการพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่กระดาษขึ้นมา
.
แบตเตอรี่ชนิดนี้จะมีขนาดเพียงแค่ 4 x 4 ซม. และหนาเพียง 0.4 มม. ซึ่งเทียบเท่ากับกระดาษทั่ว ๆ ไปที่คนใช้กัน และสร้างมาจากการพิมพ์หมึกแมงกานีสลงบนกระดาษแข็ง และอีกด้านเป็นสังกะสีและคาร์บอนที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า และเมื่อประกอบกันก็จะทำให้เกิดกระแสไฟทันที อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมถึง 10 เท่า
.
คุณสมบัติของแบตเตอรี่ที่จิ๋วแต่แจ๋วนี้สามารถจ่ายไฟให้กับพัดลมไฟฟ้าขนาดเล็กได้ประมาณ 45 นาที เลยทีเดียว ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและถูกพัฒนาด้านการไฟฟ้าได้อย่างเยี่ยมยอด
.
ทางผู้ช่วยศาสตราจารย์ Lee Seok Woo จาก มหาวิทยาลัย Nanyang Technological ได้ระบุว่า แบตเตอรี่กระดาษตัวนี้อาจสามารถแก้ปัญหาเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีปลอกอลูมิเนียมหรือพลาสติกที่ต้องคอยห่อหุ้มส่วนประกอบของแบตเตอรี่ อีกทั้งเมื่อหมดอายุการใช้งาน ผู้ใช้สามารถนำแบตเตอรี่ไปฝังใต้ดินเพื่อให้เกิดการย่อยสลายได้ใน 30 วัน เพื่อไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม แถมยังจะกลายเป็นธาตุอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงดินและพืชได้
ที่มา: https://www.straitstimes.com/.../ntu-team-invents...
.
.
#CodingArena #BiodegradablePaperBattery
Best posts made by maytawee.mayy
-
จิ๋วแต่แจ๋ว!
-
🎉🎉 ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะเลิศการแข่งขัน 🎉🎉
ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
.
จากกิจกรรม "Play With Me February Competition" ของ Coding Arena
.
รอบสำหรับเด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้แก่
รางวัลชนะเลิศ: ด.ช.สิรวิชญ์ ทัดภู่
รางวัลรองชนะเลิศ: ด.ช.พัทรพล เพิ่มเพียรทรัพย์
.
รอบสำหรับบุคคลทั่วไป ได้แก่
รางวัลชนะเลิศ: ณัฎฐรินีย์ วิศนชีวินอนันต์
รางวัลรองชนะเลิศ: ภาวรินทร์ โชติไพบูลย์
.
สำหรับผู้ที่ชนะการแข่งขันนี้ ทางทีมงานจะติดต่อกลับผ่านทาง Email ที่ได้ลงทะเบียนไว้นะคะ
.
คนไหนที่พลาดรางวัลในรอบนี้ ไม่ต้องเสียใจไปนะคะ
ทาง Coding Arena จะมีการจัดการแข่งอีกครั้งประมาณช่วงเมษายนนี้
.
สามารถติดตามข่าวสาร วันเวลาการแข่งได้ที่ Facebook page Coding Arena
อย่าลืม กด Like Coding Arena กันไว้นะคะ จะได้ไม่พลาดกิจกรรมกันค่ะ
.
.
#CodingArena #PlayWithMeFebruaryCompetition -
📢📢 เตรียมพบกับกิจกรรมจาก Coding Arena "Play With Me February Competition"
เตรียมพบกับกิจกรรมจาก Coding Arena
"Play With Me February Competition"
ที่รับรองว่ามีทั้งความสนุก ความมันส์ ได้ฝึกฝนสมอง
และเราได้เตรียมมูลค่าเงินรางวัลสุดพิเศษมาอย่างแน่นเอียด!!!
.
Coding Arena อยากชวนเหล่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและบุคคลทั่วไปเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้
.
พร้อมชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 15,000 บาท !!!
และมีแจกคอร์สเรียนออนไลน์ฟรีของ YOU MOOC
คอร์ส “เริ่มต้นเรียนรู้ Data Science เพื่อก้าวเข้าสู่นักวิจัยข้อมูล”
จำนวน 30 รางวัล
สอนโดยคุณ Stephen Tyler Williams
นัก Data Analyst มากความสามารถและประสบการณ์
ที่จะมาปูพื้นฐานและเจาะลึกด้าน Data ให้กับทุกคน
.
กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 ที่เว็บไซต์ https://codingarena.io/tournament
โดยลำดับกิจกรรมมีดังต่อไปนี้
วันที่ 12 ก.พ. 65 เวลา 14.00-16.00 น.
เป็นรอบสำหรับเด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
วันที่ 12 ก.พ. 65 เวลา 16.00-18.00 น.
เป็นรอบสำหรับบุคคลทั่วไป
ฝึกฝนมาให้ดี แล้วเจอกันในวันแข่งขัน!!
#CodingArena #PlayWithMe #FebruaryCompetition -
โหลดใช้เดี๋ยวนี้!
โหลดใช้เดี๋ยวนี้! Whoscall แอปฯ เช็กเบอร์แปลก ระบุว่าใครโทรมาเพื่อป้องกันพวกแก๊งหลอกลวงก่อนรับสาย
ช่วงนี้แก๊งหลอกลวงต้มตุ๋นผ่านสายโทรศัพท์กำลังระบาดอย่างหนัก เพราะคนเหล่านี้ได้ข้อมูลของเราไปจนเกิดผู้เสียหายที่สูญเสียทรัพท์กันไปเป็นหลักแสนหลักล้านบาทหลังเจอเบอร์แปลกโทรเข้ามา และอ้างว่าเป็นบริษัทขนส่งเอกชนต่าง ๆ จนผู้คนเกิดหลงเชื่อและโอนเงินให้กับแก๊งค์ต้มตุ๋นเหล่านี้
.
Coding Arena อยากแนะนำแอปพลิเคชันป้องกันเบอร์แปลกอย่าง Whoscall ที่พัฒนาโดยบริษัท Gogolook จากประเทศไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันมีการดาวน์โหลดมากกว่า 70 ล้านเครื่องแล้ว และมีภาษาให้เลือกถึง 10 ภาษา รองรับการใช้งานมากกว่า 31 ประเทศ รวมไปถึงประเทศไทยของเราด้วย และรองรับทั้งระบบ iOS, Android และ Windows Phone
.
ตัวแอปฯมีฐานข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ทั่วโลกมากกว่า 1 พันล้านหมายเลข อีกทั้งยังมีการอัปเดตข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถจับเบอร์แปลก ๆ ที่ชอบโทรเข้ามาที่เบอร์ของตัวเองได้
.
จุดประสงค์ของ Whoscall ก็คือการแจ้งเบอร์และข้อความแปลกให้กับเจ้าของเบอร์ให้ทราบ และยังสามารถบล็อกเบอร์ที่กวนใจเราได้ง่าย ๆ
.
การใช้งานของ Whoscall ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน เพียงแค่ดาวน์โหลดเข้าเครื่องและเปิดใช้งาน จากนั้นเมื่อมีสายเข้าหรือข้อความเข้า ตัวแอปฯ ก็จะขึ้นเตือนบนหน้าจอสำหรับเบอร์โทรศัพท์ที่เราไม่ได้บันทึกไว้ ไม่ว่าจะเป็น Line Man, Grab, บัตรเครดิต ฯลฯ และที่สำคัญแอปฯนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
.
.
#CodingArena #Whoscall -
ฮิตจนปิดดีล 7 หลัก!
ฮิตจนปิดดีล 7 หลัก! เกม Wordle ขายให้กับหนังสือพิมพ์ New York Times เล่นฟรีเหมือนเดิม
.
ล่าสุด Wordle เกมแนวทายคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 5 ตัวอักษร สุดฮิตบนโลกโซเชียลมีเดียที่พัฒนาโดย จอช วาร์เดิล ได้ถูกซื้อไปเป็นที่เรียบร้อยโดยหนังสือพิมพ์ New York Times
.
และไม่มีการเปิดเผยตัวเลขอย่างเป็นทางการ แต่ได้แจ้งว่ามีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 7 หลัก เลยทีเดียว และการปิดการขายครั้งนี้ไม่มีผลต่อราคาของตัวเกมที่จะเกิดขึ้น เพราะทาง New York Times ยืนยันว่าตัวเกมจะมียังเล่นฟรีต่อไป สิ่งเดียวที่มีการเปลี่ยนแปลงก็คือ เกม Wordle นั้นได้เข้ามาอยู่ภายใต้บริษัท New York Times เท่านั้น
.
หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เกมนี้เป็นที่นิยมและกระแสไม่มีตกตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2021 ก็คือการที่ระบบได้จำกัดให้เล่นเพียงวันละรอบเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า หากวันนี้ได้ทายคำผิดก็ต้องรอจนถึงวันรุ่งขึ้นถึงจะได้แก้ตัวนั่นเอง นอกจากนั้นระบบได้ถูกตั้งให้ผู้เล่นทุกคนได้เล่นชุดคำศัพท์เดียวกัน จึงทำให้เกิดการพูดคุยระหว่างหมู่เพื่อน ๆ ในการเล่นเกมนี้
.
ต่อมา Coding Arena จะมาแชร์เทคนิคเกม Wordle ให้ผ่านฉลุยในแต่ละชุดคำศัพท์ เผื่อเพื่อน ๆ จะได้ลองนำเทคนิคนี้ไปลองใช้กัน
เริ่มต้นคำแรกด้วยคำศัพท์ที่มีสระเยอะ ๆ
หลีกเลี่ยงตัวอักษรสีเทา
ในคำปริศนาสามารถมีตัวอักษรซ้ำได้ เช่น CHILL, SISY, KNOLL
.
ใครที่ยังไม่ได้ลองเล่นเกมนี้ ก็ถึงเวลาที่เพื่อน ๆ จะได้ลองและฝึกทักษะภาษาอังกฤษไปพร้อม ๆ กัน และอย่าลืมมาแชร์เทคนิคการเล่นขั้นเทพให้กับ Coding Arena กันนะคะ
.
.
#CodingArena #Wordle -
5 ทักษะสำคัญที่จะได้จากการเรียนเขียน Coding
5 ทักษะสำคัญที่จะได้จากการเรียนเขียน Coding
.
หลาย ๆ คนอาจจะนึกว่าเมื่อต้องเรียนเขียนโปรแกรม สิ่งเดียวที่จะได้คือหลักการการเขียนโปรแกรม โครงสร้าง ไวยกรณ์ต่าง ๆ อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วยังได้รับทักษะสำคัญต่อการทำงานที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยมี หรือกำลังพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอยู่ ซึ่งทักษะต่าง ๆ มีดังนี้- ทำงานเป็นระบบ
- คิดเป็นระบบ
- รอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน
- กล้าลองผิดลองถูก
- มีความคิดสร้างสรรค์
และอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณจะได้รับจากการฝึกฝนเขียนโปรแกรม
.
สำหรับใครที่กำลังมองหาเว็บไซต์ฝึกฝนเขียนโค้ดดิ้งขั้นพื้นฐาน อย่าลืมนึกถึง Coding Arena (https://codingarena.io/) ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ด้าน Coding คุณภาพที่พร้อมให้ทุกคนได้ลองฝึกฝนและสนุกกับการเขียน Coding เพื่อต่อยอดความสามารถที่นำไปสู่เส้นทางการเป็นโปรแกรมเมอร์มืออาชีพ
#CodingArena #Programming #โปรแกรมเมอร์
-
นวัตกรรมสุดล้ำ 2022!
นวัตกรรมสุดล้ำ 2022! เครื่องแสดงภาพโฮโลแกรม 3 มิติ ฉายภาพบุคคลเสมือนจริง
.
บริษัท Startup แห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยโฉมเครื่องแสดงภาพโฮโลแกรม 3 มิติ ‘Portl Epic’ ที่สามารถแสดงภาพขนาดเท่าบุคคลจริง ที่มีชื่อว่า Epic และ M โดยผู้ใช้งานจะได้สัมผัสประสบการณ์การพูดคุยเสมือนอยู่ใกล้กัน
.
การออกแบบของนวัตกรรมนี้เป็นรูปแบบกล่องสี่เหลี่ยมและมีลำโพงไว้ทั้งสองข้างพร้อมกล้องวิดีโอบันทึกภาพ 4K และเป็นระบบสัมผัสหน้าจอ โดยมีความชัดและมีแสงเงาที่เหมือนจริงราวกับได้พูดคุยกับคนที่อยู่ในระยะใกล้ชิด
.
อีกทั้งทางบริษัทยังได้รับรางวัลนวัตกรรมเพื่อการสื่อสารในงาน CES 2022 ที่จัดขึ้นในเมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 5-8 มกราคม 2022 ที่ผ่านมา
.
เครื่องแสดงภาพ 3 มิติ Portl Epic และ Portl M สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานรูปแบบ Work From Home, การเรียนออนไลน์, งานแสดงสินค้า, งานแฟชั่นโชว์, งาน Gallery หรือพิพิธภัณฑ์ นี่อาจจะกลายเป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ช่วยให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไป และทำให้การทำงานระยะไกลเกิดความใกล้ชิดหรือปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนร่วมกันง่ายยิ่งขึ้น
.
ในขณะนี้ เครื่องรุ่น Portl M มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,300 บาท ส่วนรุ่น Portl Epic ยังไม่ได้มีราคากำหนดไว้อย่างเป็นทางการ
.
.
#CodingArena #Hologram -
ถอด 5 บทเรียนของนักเขียน ‘Clive Thompson’
ถอด 5 บทเรียนของนักเขียน ‘Clive Thompson’ ผู้ที่เริ่มเขียนโปรแกรมด้วยตนเองจากหนังสือ “Coders: The Making of a New Tribe and the Remaking of the World”
.
ยุคนี้ภาษาคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นหนึ่งในภาษายอดนิยมที่ใคร ๆ มักสนใจที่จะศึกษาและทดลองเขียน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องเข้าศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนรู้เรื่องการเขียนโค้ดก็สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เพียงแค่ต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจกับสิ่งที่ต้องการที่จะเรียนรู้และเสริมทักษะให้ตัวเอง
.
วันนี้ Coding Arena จะพามาถอดบทเรียนของคุณ Clive Thompson นักเขียนบทความด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้ใช้เวลายาวนานกว่า 3 ปี ในการสัมภาษณ์นักโปรแกรมเมอร์มากกว่า 200 คน เพื่อเขียนหนังสือของเขาที่ชื่อว่า
Coders: The Making of a New Tribe and the Remaking of the World” ซึ่งการสัมภาษณ์โปรแกรมเมอร์มากหน้าหลายตาทำให้เขาต้องการที่จะเรียนรู้ทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์มากขึ้น จึงตัดสินใจหัดเขียนโปรแกรมด้วยตัวเองในเวลาว่าง
.
การฝึกฝนการเขียนโปรแกรมของ Clive Thompson ทำให้เขาได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ และได้ข้อคิดมากมายจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง 5 บทเรียนที่ได้จากการเรียนเขียนโปรแกรมด้วยตนเอง ของ Clive Thompson จะเป็นยังไงบ้าง ลองมาดูกันเลย!
.
บทเรียนที่ 1: เริ่มต้นที่โลกออนไลน์
คุณ Clive Thompson มองว่ายุคสมัยนี้โลกออนไลน์ถือว่าเป็นเพื่อนและเป็นครูชั้นดีสำหรับทุกคนเพราะมีแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์หรือเว็บไซต์เรียนออนไลน์ทางด้านการเขียนโปรแกรมอยู่มาก และบางแห่งก็สอนได้เข้าใจง่าย รวดเร็ว และมีคุณภาพ
.
บทเรียนที่ 2: ในช่วงแรก อย่ากังวลเรื่องภาษามากจนเกินไป
คุณ Clive Thompson ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเรียนรู้และทำความคุ้นชินกับหลักการพื้นฐานการเขียนโปรแกรมให้ได้มากที่สุด เช่นเดียวกับทาง Quincy Larson ผู้ก่อตั้ง FreeCodeCamp ได้บอกว่าถ้าคุณเรียนรู้ภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถเรียนรู้ภาษาอื่นได้เช่นเดียวกัน และการเลือกภาษาไม่ใช่เป็นจุดสำคัญในการเริ่มต้นของการเรียนรู้ทางด้านนี้
และอย่าไปเสียเวลาเสิร์ช Google ว่า “ฉันควรเรียนภาษาอะไร” แต่จงเลือกเรียนภาษาที่ชอบหรือถนัดและมีประโยชน์ต่อการใช้งาน
.
บทเรียนที่ 3: เขียนโปรแกรมทุกวัน
การฝึกเขียนโปรแกรมด้วยตัวเองควรมีความขยันมั่นเพียร และสัญญากับตัวเองว่าจะเขียนโปรแกรมทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เพราะความเชี่ยวชาญจากสกิลใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ และการที่คุณ Clive Thompson เขียนโปรแกรมและทุ่มเทกับมันทุกวันทำให้เขาเข้าใจหลักการสำคัญได้ง่ายขึ้น
.
บทเรียนที่ 4: เขียนโปรแกรมเพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้น
จุดประสงค์ของการเขียนโปรแกรมของคุณ Clive Thompson ไม่ได้ต้องการที่จะทำแอปพลิเคชันใหญ่โต แต่เขาต้องการสร้างเครื่องมือบางอย่างที่ช่วยให้การทำงานของเขาง่ายขึ้น เช่น สร้างโปรแกรมง่าย ๆ เพื่อดึงคำพูดจาก YouTube มาแปลงเป็นข้อความให้อ่านง่ายขึ้น, สร้างข้อความแจ้งเตือนว่ารถจอดที่ไหน และเตือนให้ย้ายรถก่อนโดนใบสั่ง เป็นต้น
คุณ Clive Thompson กำลังจะสื่อว่าคุณค่าของการเขียนโปรแกรมมีอยู่มาก และทำให้การทำงานของเขามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเขาสามารถทำงานในสาขาอาชีพเดิมและไม่ได้จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมเมอร์มือโปรแต่อย่างใด
.
บทเรียนที่ 5: เปิดรับกับความรู้ใหม่ตลอดเวลา
ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของการเรียนเขียนโปรแกรมคือการเปิดรับความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ โลกของโปรแกรมและดิจิทัลมีภาษาและเครื่องมือใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการเป็นโปรแกรมเมอร์ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หรืออีกความหมายนึงคือ “คุณจะเป็นนักเรียนตลอดไป”
.
และนี่คือ 5 บทเรียนของนักเขียนที่ได้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วยตนเองและได้แบ่งปันประสบการณ์ผ่านตัวหนังสือของเขา สิ่งที่สำคัญที่สุดของการฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวิชาหรือทักษะไหน ๆ ก็คือความมุ่งมั่นและความเพียรพยายามที่จะทำให้สำเร็จ
สำหรับใครที่กำลังมองหาแหล่งการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ทางด้านการเขียนโค้ดหรือเขียนโปรแกรม ก็อย่าลืมที่จะนึกถึง Coding Arena ที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการฝึกเขียนโค้ดโปรแกรมผ่านการเล่นเกมที่สนุกสนานและมีประโยชน์สุด ๆ ที่สำคัญคือเล่นได้ทุกเพศทุกวัย
ใครสนใจอยากลองเขียนโค้ดกับ Coding Arena กดที่ลิงก์นี้เลย https://codingarena.io/
.
.
#CodingArena #CliveThompson -
เผย 12 เทรนด์เทคโนโลยีน่าจับตามองและจับกระแสให้ทันของปี 2022
เผย 12 เทรนด์เทคโนโลยีน่าจับตามองและจับกระแสให้ทันของปี 2022
.
ในทุก ๆ ปี เราจะสามารถเห็นได้ว่าโลกเทคโนโลยีนั้นถูกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนบางครั้งเราจับกระแสนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ กันแทบไม่ทัน จากสิ่งที่เคยคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ก็กลายเป็นสิ่งที่สามารถสร้างขึ้นมาให้ตื่นตาตื่นใจกันได้อยู่เสมอ อีกทั้งวิวัฒนาการต่าง ๆ ก็ทำให้ชีวิตการเป็นอยู่ของเราง่ายและสบายมากขึ้น
.
ก่อนหน้านี้ Gartner (การ์ทเนอร์) บริษัทผู้นำยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการคาดการณ์ถึง 12 เทรนด์เทคโนโลยีที่น่าจับตามองที่จะเอื้อหนุนทางด้านธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรมของปี 2022 นี้ ซึ่งข้อมูลที่ทาง Coding Arena จะนำเสนอนี้มีประโยชน์ต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงและมองเห็นแนวโน้มของโลกดิจิทัลและนวัตกรรมที่ถูกขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น มาดูกันเลยดีกว่าว่า 12 เทรนด์เทคโนโลยีของปี 2022 จะมีอะไรบ้าง
.
#เทรนด์1 Data Fabric
เทรนด์ของการจัดการข้อมูลบนโลกดิจิทัลที่มีอยู่จำนวนมากและอยู่อย่างไม่เป็นหลักเป็นหลักเท่าที่ควรให้มารวมอยู่ในพื้นที่เดียวกันเพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นพร้อมใช้งานได้ทุกที่และทุกเมื่อ ซึ่งระบบ Data Fabric ช่วยร่นเวลาการจัดการข้อมูลลงได้ถึง 70% เลยทีเดียว
.
#เทรนด์2 Cybersecurity Mesh
ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จะช่วยเรื่องของความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ให้รัดกุมยิ่งขึ้น เทคโนโลยีนี้จะเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทั้งภายนอกและภายในระบบคลาวด์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น
.
#เทรนด์3 Privacy-Enhancing Computation
อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะช่วยเรื่องของความปลอดภัยทางข้อมูลของผู้ใช้งานที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เมื่อเกิดความเสี่ยงสูงหรือไม่น่าเชื่อถือขณะใช้งานอยู่ และในหลายประเทศตอนนี้ก็มีกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้และการปกป้องข้อมูลระหว่างประเทศมากขึ้น
.
#เทรนด์4 Cloud-Native Platforms
เทคโนโลยีใหม่รูปแบบแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มบนคลาวด์ที่เพิ่มความสามารถด้านดิจิทัลและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของคลาวด์ที่รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งความสามารถของระบบนี้จะมีความยืดหยุ่น คล่องตัว และเพิ่มความสามารถในการโอนย้ายข้อมูลไปสู่ระบบคลาวด์ให้ดียิ่งขึ้น
.
#เทรนด์5 Composable Applications
การสร้างแอปพลิเคชันที่สามารถแยกส่วนและนำมาประกอบใหม่ได้ ซึ่งจะทำให้แอปพลิเคชันต่าง ๆ มีการใช้งานที่ง่ายและสามารถนำโค้ดกลับมาประกอบเพื่อใช้งานใหม่อีกครั้งได้
.
#เทรนด์6 Decision Intelligence
ชุดกระบวนการการตัดสินใจที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งสำคัญต่อองค์กรต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลอัจฉริยะจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุด ซึ่งระบบนี้อาจกลายเป็นกระบวนการอัตโนมัติที่ใช้ในการวิเคราะห์ การจำลอง และนำ AI มาช่วยในการสร้างแพลตฟอร์มนี้
.
#เทรนด์7 Hyperautomation
Hyperautomation หรือระบบอัตโนมัติขั้นสูง ที่มีความสามารถในการแปลผลลัพธ์และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และนำมาสู่การตัดสินใจผ่านระบบ AI ที่ง่ายขึ้นสำหรับระบบองค์กร ที่สามารถประยุกต์ใช้กับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานการระยะไกล หรือการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ และอื่น ๆ อีกมากมาย
.
#เทรนด์8 AI Engineering
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีระบบ AI จะถูกพัฒนาให้เติบโตมากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ และองค์กรต่าง ๆ จะพยายามนำ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจมากขึ้น โดยจะมีลักษณะการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ที่คอยปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด
.
#เทรนด์9 Distributed Enterprises
เทคโนโลยีที่เน้นการทำงานระยะไกลที่ช่วยให้เกิดการปรับตัวของพนักงาน และส่งเสริมการค้าขายระหว่างผู้บริโภคและคู่ค้าที่อยู่ไกลกันให้กลายเป็นรูปแบบดิจิทัลอย่างทันสมัยและรวดเร็ว
.
#เทรนด์10 Total Experience
การผสมผสานประสบการณ์ของหลาย ๆ บุคคลเข้ารวมกัน ซึ่งมีจุดประสงค์ในการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยรวบรวมประสบการณ์ของพนักงาน ลูกค้า ผู้ใช้ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง Total Experience มีเป้าหมายในการสร้างความมั่นใจ ความพึงพอใจ และการได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น
.
#เทรนด์11 Autonomic Systems
ระบบการทำงานที่ถูกปรับตัวให้เข้ากับความไม่แน่นอน และพยายามในการปรับใช้ระบบจากการเรียนรู้ผ่านสภาพแวดล้อม โดยมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนอัลกอริธึมแบบไดนามิกในรูปแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้เกิดความยืนหยุ่นและเปลี่ยนแปลงความต้องการกับสถานการณ์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
.
#เทรนด์12 Generative AI
ระบบ AI จะถูกพัฒนามาเป็นการเรียนรู้จากข้อมูลที่สร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาที่มีความคล้ายคลึงกับต้นแบบ และจะมีศักยภาพในการสรรค์สร้างรูปแบบใหม่ที่อาจช่วยในการวิจัยและพัฒนาระบบต่าง ๆ ในระยะเวลาที่สั้นลง
.
และนี่คือ 12 เทรนด์เทคโนโลยีของปี 2022 ที่ทางบริษัท Gartner ได้คาดการณ์ไว้เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งทั้ง 12 เทรนด์ที่ว่ามานี้จะมองเห็นได้ว่าเทรนด์ทั้งหมดสามารถขับเคลื่อนทางด้านธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรมเป็นอย่างมาก Coding Arena จะคอยจับตามองเทรนด์ต่าง ๆ และนำมาอัปเดตเพื่อน ๆ โดยทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.gartner.com/en
#CodingArena -
ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะเลิศการแข่งขัน Coding Arena U-LEAGUE 2021
ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะเลิศการแข่งขัน Coding Arena U-LEAGUE 2021
รางวัลชนะเลิศ น้อง ภาวรินทร์ โชติไพบูลย์พันธุ์ (SWU)
รางวัลรองชนะเลิศ น้อง ณัฏฐรินีย์ วิศวชีวินอนันต์ (RU)
และสำหรับน้องๆทั้ง 50 คนที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ
ทาง Coding Arena เรามีของรางวัลมามอบให้กับทุกคนด้วยเช่นเดียวกันค่ะ
ทางทีมงานจะติดต่อกลับหาน้องๆ ผ่านทาง Email ที่น้องๆได้ลงทะเบียนไว้นะคะ
ถ้าน้องๆมีคำถาม สามารถทักมาหาพี่ Admin Page Coding Arena ได้เลยค่ะ
น้องๆคนไหนที่พลาดรางวัลในรอบนี้ ไม่ต้องเสียใจไปนะคะ
ทาง Coding Arena จะมีการจัดการแข่งอีกครั้งประมาณช่วงเดือนแห่งความรัก
น้องๆสามารถติดตามข่าวสาร วันเวลาการแข่งได้ที่ Facebook page Coding Arena
อย่าลืม กด Like Coding Arena กันไว้นะคะ จะได้ไม่พลาดกิจกรรมกันค่ะ
#codingarena #uleage2021 #depa #coding #university
FB: https://www.facebook.com/codingarenathailand